ข้อมูลทั่วไป
 
ประวัติความเป็นมา วิสัยทัศน์/พันธกิจ ตราสัญลักษณ์
  • ประวัติความเป็นมาของ องค์การบริหารส่วนตำบลป่าขาด




    องค์การบริหารส่วนตำบลป่าขาด เดิมเป็นสภาตำบลป่าขาดทำให้การบริหารงานไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขาดความคล่องตัวในการบริหาร รัฐบาลจึงปรับปรุงฐานะของสภาตำบลเสียใหม่ให้เป็นนิติบุคคล เพื่อให้สามารถรองรับการกระจายอำนาจไปสู่ประชาชนให้มากยิ่งขึ้นตาม พ.ร.บ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
    พ.ศ. 2537 มาตรา 6 และยกฐานะสภาตำบลซึ่งมีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ตามมาตรา 43 ประกอบด้วย สภาองค์การบริหารส่วน ตำบล และคณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ตามมาตรา 44

    เกณฑ์ที่กำหนดให้สภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นไปตาม พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537
    มาตรา 40 สภาตำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท หรือตามเกณฑ์รายได้เฉลี่ยในวรรคสองอาจจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ โดยทำเป็นประกาศของกระทรวงมหาดไทยและให้ประกาศใน
    ราชกิจจานุเบกษา ในประกาศนั้นให้ระบุชื่อ และเขตขององค์การบริหารส่วนตำบลไว้ด้วย

    วันที่ 17 มกราคม 2539 ได้รับการยกฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการส่วนท้องถิ่น (องค์การบริหารส่วนตำบล) ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 โดยมีหมู่บ้านในเขตพื้นที่ทั้งหมด 5 หมู่บ้าน โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2544 องค์การบริหารส่วนตำบลป่าขาด เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลชั้น 5 ตามเกณฑ์ของรายได้ที่สำนักงาน ก.ท. กำหนด (รายได้ไม่เกิน 3 ล้านบาท) องค์การบริหารส่วนตำบลป่าขาด อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอสิงหนคร ระยะห่างจากตัวอำเภอประมาณ 15 กิโลเมตร องค์การบริหารส่วนตำบลป่าขาดตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 4 ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา จนถึงปัจจุบัน


  • วิสัยทัศน์การพัฒนาท้องถิ่น


    "ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ประชาชนมีอาชีพก้าวหน้า พัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบ เสริมสร้างสุขภาพดีทั่วหน้า การศึกษาทันสมัยภายในปี 2550"


    พันธกิจการพัฒนาท้องถิ่น


    องค์การบริหารส่วนตำบลป่าขาด เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก มีพื้นที่ 10,125 ไร่ ประชากร ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ค้าขาย การเกษตร และประมง สภาพชุมชนเป็นแบบกึ่งเมืองกึ่งชนบท มีอัตราการขยายตัว ของชุมชน และประชากร ในระดับที่สูงทำให้เกิดปัญหาพื้นฐานมากมาย หลายประการ